ดัชนีการรับรู้การทุจริต Ep.1 : CPI คืออะไร
23 ม.ค. 2567

ดัชนีการรับรู้การทุจริต คือ อะไร ???
ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) คือ ดัชนีที่สะท้อนภาพลักษณ์การทุจริตของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

ดัชนี CPI จัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) ก่อตั้งในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เมื่อปี ค.ศ. 1993 มีสถานะเป็นองค์กรภาคประชาสังคมระหว่างประเทศ ที่มีวัตถุประสงค์ในการต่อสู้กับการทุจริตทุกรูปแบบ ด้วยการแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ และสร้างความตระหนักรู้ถึงผลเสียของการทุจริต
โดยดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการทุจริตจากฐานข้อมูลที่เป็นการจัดอันดับหรือดัชนีชี้วัด ซึ่งจัดทำโดยหน่วยงานที่น่าเชื่อถือต่าง ๆ ทั่วโลก จำนวน 13 แหล่งข้อมูล
สำหรับประเทศไทยใช้ข้อมูลจาก 9 แหล่งข้อมูล ในการจัดอันดับ
ดัชนีการรับรู้การทุจริต Ep.1 : CPI คืออะไร
ดัชนีการรับรู้การทุจริต Ep.2 : คะแนน CPI
ดัชนีการรับรู้การทุจริต Ep.3 : 9 แหล่งข้อมูลการจัดอันดับคะแนน CPI ของประเทศไทย
ดัชนีการรับรู้การทุจริต Ep.4 : ดัชนีการรับรู้การทุจริต พ.ศ. 2566 (CPI) ของประเทศไทย
ดัชนีการรับรู้การทุจริต Ep.5 : CPI 2023 ภาพรวมทั่วโลก
ดัชนีการรับรู้การทุจริต Ep.6 : CPI 2023 ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก
ดัชนีการรับรู้การทุจริต Ep.7 : มองไทย ในอาเซียน (CPI 2023)
ดัชนีการรับรู้การทุจริต Ep.8 : ไทยแลนด์ กับคะแนนที่ใฝ่ฝัน (CPI 2566)
ดัชนีการรับรู้การทุจริต Ep.9 : ข้อแนะนำเพื่อความโปร่งใส (CPI Recommendations)
#cpi#corruptionperceptionindex#cpi2023#acm#VirtualMuseum#AntiCorruptionMuseum#ต้านโกง#พิพิธภัณฑ์ต้านโกง#ACM