วิวัฒนาการการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของประเทศไทย


กลโกงฮั้ว (2097 x 3276 px) (5)

การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินในประเทศไทย เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มีการบัญญัติครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2517 ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา รัฐมนตรี ต้องแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของตนต่อประธานรัฐสภา


พ.ศ. 2517-2539

หลังจากนั้นมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2524 ซึ่งได้กำหนดวิธีการ และมาตรการต่าง ๆ ไว้ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ให้ต้องแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตนเองที่อยู่ในครอบครองทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อใช้ประกอบการตรวจสอบความร่ำรวยผิดปกติของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งโดยปกติถือเป็นเอกสารลับไม่เปิดเผย แต่จะนำมาใช้เมื่อมีมูลว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นมีพฤติการณ์หรือถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ และหากผลการสืบสวนปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นไม่สามารถชี้แจงได้ว่า ตนได้ทรัพย์สินมาโดยชอบ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ก็จะขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินต่อไป


พระราชบัญญัติการแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 กำหนดให้สมาชิกของรัฐสภายื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเฉพาะของตนเอง ต่อประธานของสภาที่ตนสังกัดภายใน 60 วัน นับแต่วันเข้ารับหน้าที่ และเก็บรักษาไว้เป็นเอกสารลับ ณ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา หรือสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หากไม่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความที่เป็นเท็จ มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

รถดับเพลิง 2,000 ลิตร (144 คัน ซื้อแพงกว่าในประเทศ คันละ 15,455,370 บาท) (3).png


"สำหรับการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่รัฐ หากไม่ยื่นบัญชีก็ไม่มีการกำหนดโทษ แต่สำหรับการยื่นทรัพย์สินและหนี้สินในส่วนของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามพระราชบัญญัติการแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 หากไม่ยื่นบัญชี หรือยื่นบัญชีเป็นเท็จ มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"


"จะเห็นได้ว่าในช่วงแรกของการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน เฉพาะของตนเองเท่านั้น และการยื่นบัญชีมาเพื่อเก็บไว้ ไม่ได้เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณชนแต่อย่างใด"


พ.ศ.2540 - 2560

ภายหลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐตำแหน่งอื่น ๆ ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตนเอง คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. และมีการตรวจสอบความถูกต้อง ความมีอยู่จริง และความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ และมีการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินให้สาธารณชนรับทราบในบางตำแหน่ง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา เป็นต้น

รถดับเพลิง 2,000 ลิตร (144 คัน ซื้อแพงกว่าในประเทศ คันละ 15,455,370 บาท) (4).png


"ในช่วงที่สองของการการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินได้มีการกำหนดให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ของตนเอง คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. รวมถึงมีการตรวจสอบความถูกต้อง และความมีอยู่จริง ของทรัพย์สินหรือหนี้สิน และมีการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินให้สาธารณชนรับทราบ และมีการกำหนดโทษสำหรับการไม่ยื่นบัญชี หรือยื่นบัญชีเป็นเท็จสำหรับนักการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ"


พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ได้ให้อำนาจคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการกำหนดตำแหน่งสำหรับผู้ที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งในส่วนของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักการเมืองท้องถิ่น ให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินของตนเอง คู่สมรส (รวมการอยู่กินฉันสามีภรรยา) และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ พร้อมหลักฐานแสดงความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สิน และให้ตรวจสอบความถูกต้อง ความมีอยู่จริง ความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สิน และเปิดเผยผลการตรวจสอบว่าผิดปกติหรือไม่ รวมทั้งเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง นักการเมืองส่วนท้องถิ่น

รถดับเพลิง 2,000 ลิตร (144 คัน ซื้อแพงกว่าในประเทศ คันละ 15,455,370 บาท) (5).png


"สำหรับในยุคปัจจุบันการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน พัฒนาการที่สำคัญจากยุค พ.ศ. 2540 - 2560 ดังนี้

1 ขยายความคำว่าคู่สมรส ให้รวมถึงการอยู่กินฉันสามีภรรยา

2 ให้ยื่นพร้อมหลักฐานพิสูจน์ความมีอยู่จริง

3 ตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สิน และเปิดเผยผลการตรวจสอบว่าผิดปกติหรือไม่

4 เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินให้สาธารณชนรับทราบ เพิ่มมากขึ้น

5 ให้เจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อหัวหน้าส่วนราชการตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (ปัจจุบันยังไม่มีกำหนดให้ยื่น)


#acm #ACM #VirtualMuseum #AntiCorruptionMuseum #ต้านโกง #พิพิธภัณฑ์ต้านโกง #ต้านโกงเสมือนจริง #กลโกง #กลโกงปกปิดบัญชีทรัพย์สิน #กลโกงปกปิดบัญชี #กลโกงแจ้งบัญชีเท็จ #แจ้งเท็จ #ไม่ยื่นบัญชี #ซุกทรัพย์สิน #บัญชีทรัพย์สิน #การยื่นบัญชีทรัพย์สิน #การยื่นบัญชีทรัพย์สินของไทย


ออกแบบภาพและเรียบเรียงเนื้อหาโดย : กนต์ธร บัวงาม เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ พิพิธภัณฑ์ต้านโกง


ที่มาข้อมูล
พิพิธภัณฑ์ต้านโกงเสมือนจริง-ตีแผ่กลโกง
การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน : สถาบันพระปกเกล้า
นิติเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของ ป.ป.ช. : วรวิทย์ สุขบุญ

Follow the news