หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา พ.ศ. 2561


ที่มา

ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564)

ยุทธศาสตร์ที่ 1 “สร้างสังคมไม่ทนต่อการทุจริต” มุ่งเน้นให้ความสำคัญในกระบวนการปรับสภาพสังคมให้เกิดภาวะที่ “ไม่ทนต่อการทุจริต” โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมในทุกระดับช่วงวัยตั้งแต่ปฐมวัยเพื่อสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริตและปลูกฝังความพอเพียงมีวินัยซื่อสัตย์สุจริตดำเนินการผ่านสถาบันหรือกลุ่มตัวแทนที่ทำหน้าที่ในการกล่อมเกลาทางสังคมและได้กำหนดกลยุทธ์ 4 กลยุทธ์ คือ

กลยุทธ์ที่ 1ปรับฐานความคิดทุกช่วงวัยตั้งแต่ปฐมวัยให้สามารถแยกระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม

กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมให้มีระบบและกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมเพื่อต้านทุจริต

กลยุทธ์ที่ 3 ประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือต้านทุจริต และ

กลยุทธ์ที่4 เสริมพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community) และบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต

โดยกลยุทธ์ที่ 1กลยุทธ์ที่ 2 และกลยุทธ์ที่ 3 กำหนดให้ต้องดำเนินการจัดทำหลักสูตร บทเรียน การเรียนการสอนการนำเสนอและรูปแบบการป้องกันการทุจริตรวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้สำหรับทุกช่วงวัย

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงานป.ป.ช.) ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของประเทศไทยได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดทำ “หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education)” ขึ้น จำนวน 5 หลักสูตร และคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2561ให้นำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

อินโฟกราฟฟิก หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา-รูปภาพ-0.jpg


จุดมุ่งหมายของหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

1.ปรับฐานความคิดของคนทุกช่วงวัยให้สามารถแยกแยะประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวมได้อย่างชัดเจน

2.ให้คนในสังคมเกิดความรู้สึกละอายที่จะทำการทุจริตเกิดความไม่ทน ไม่นิ่งเฉย ดูดายต่อปัญหาการทุจริตของประเทศ

3.ให้คนในสังคมตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นพลเมืองมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมและมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต

4.นำหลักคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสังคมแห่งความเอื้ออาทรกันในสิ่งที่ดีงามเพื่อความสงบสุขของสังคมและเพื่อสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต


กลุ่มเป้าหมายของหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาและการนำไปใช้

1.หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต)สำหรับการเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาของรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับปฐมวัยถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดทำเป็นรายวิชาเพิ่มเติม สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง หรือนำไปบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม(สาระหน้าที่พลเมือง) หรือนำไปบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ

2.หลักสูตรอุดมศึกษา(วัยใส ใจสะอาด “Youngster with good heart”) สำหรับการเรียนรู้ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยนำเนื้อหาหลักสูตรไปปรับใช้ในการเรียนการสอนให้กับกลุ่มเป้าหมายตามความเหมาะสมและบริบทของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง

3.หลักสูตรกลุ่มทหารและตำรวจ (ตามแนวทางรับราชการ กลุ่มทหารและตำรวจ) สำหรับการฝึกอบรมและการเรียนรู้หน่วยงานของกระทรวงกลาโหมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยนำเนื้อหาหลักสูตรไปพิจารณาปรับใช้ในการฝึกอบรมกับกำลังพลในสังกัดและนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาและหลักสูตรระดับอุดมศึกษามาปรับใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาในสังกัดทหารและตำรวจ

4.หลักสูตรวิทยากรป.ป.ช./บุคลากรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ (สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต) สำหรับการฝึกอบรมและการเรียนรู้ของบุคลากรภาครัฐและพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยนำเนื้อหาหลักสูตรไปพิจารณาปรับใช้ในการฝึกอบรมให้กับบุคลากรในสังกัด

5. หลักสูตรโค้ช (โค้ชเพื่อการรู้คิดต้านทุจริต) สำหรับใช้ในการฝึกอบรมและการเรียนรู้ให้กับบุคลากรของสำนักงานป.ป.ช.บุคลากรภาครัฐ และโค้ชSTRONGโดยนำเนื้อหลักสูตรไปพิจารณาปรับใช้ในการฝึกอบรมเพื่อนำไปขยายผลในองค์กรหรือชุมชน


ชุดวิชาประกอบหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

หลักสูตรต้านหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาพ.ศ.2561 จำนวน 5 หลักสูตรประกอบด้วยชุดวิชาประกอบหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

1.การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม

อินโฟกราฟฟิก หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา-รูปภาพ-1.jpg


2.ความอายและความไม่ทนต่อการทุจริต

อินโฟกราฟฟิก หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา-รูปภาพ-2.jpg


3. STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต

อินโฟกราฟฟิก หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา-รูปภาพ-3.jpg


4. พลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม

อินโฟกราฟฟิก หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา-รูปภาพ-4.jpg