เส้นทางต้านโกง ตอนที่ 4 สมัยอยุธยา 2 (ถือน้ำ และลิลิตโองการแช่งน้ำ)


อย4

เส้นทางต้านโกง ตอนที่ 4

สมัยอยุธยา (ถือน้ำ และลิลิตโองการแช่งน้ำ)


สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

นอกจากการบัญญัติกฎหมายต่าง ๆ แล้ว


ยังมีการกำหนดพิธีกรรมสำคัญ

เพื่อเป็นการแสดงความซื่อสัตย์สุจริต

ต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ


ได้แก่

พิธีศรีสัจจปานกาล

หรือ พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา

หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ถือน้ำ


โดยในพิธีจะมีการอ่านโองการ

ซึ่งแต่งด้วยโคลงสลับกับร่ายเป็นช่วง ๆ

เนื้อหาในโองการแบ่งได้ 5 ส่วนสำคัญ คือ


1. เนื้อหาเริ่มด้วยการสดุดีเทพเจ้าฮินดู 3 องค์

ได้แก่ พระนารายณ์ พระศิวะ และพระพรหม

เป็นร่ายสามบทสั้นๆ


2. กล่าวถึงกำเนิดโลก และสังคมมนุษย์

และอัญเชิญเทพยดา พระรัตนตรัย

และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผีต่างๆ

มาเป็นพยานในพิธี ถือน้ำ


3. คำสาปแช่งผู้ทรยศ คิดไม่ซื่อต่อเจ้าแผ่นดิน

ให้ประสบภยันตรายนานา เช่น ถูกสัตว์ที่มีเขี้ยวเล็บงาทำร้ายถึงตาย ใช้ของมีคมจากการทำงานแล้วถูกคมของเครื่องใช้นั้นบาดจนถึงแก่ความตาย เป็นต้น

เป็นเนื้อหาที่ยาวที่สุดในบรรดา 5 ส่วน


4. คำอวยพรแก่ผู้จงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน


5. ถวายพระพรพระเจ้าแผ่นดิน

เป็นร่ายสั้นๆ เพียง 6 วรรค


พิธีนี้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึง

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และเลิกไปเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบประชาธิปไตย ใน พ.ศ.2475




ออกแบบภาพและเรียบเรียงเนื้อหาโดย
นายกนต์ธร บัวงาม
เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ
พิพิธภัณฑ์ต้านโกง