เส้นทางต้านโกง ตอนที่ 3 สมัยอยุธยา 1 (ฉ้อราษฎร์บังหลวง)


อย1

เส้นทางต้านโกง ตอนที่ 3

สมัยอยุธยา (ฉ้อราษฎร์บังหลวง)


ในสมัยอยุธยา ถือว่าการรับราชการ

เป็นการเกณฑ์คนเข้ารับใช้แผ่นดิน

ไม่มีเงินเดือนตอบแทน

ข้าราชการแต่ละคน

จึงต้องทำมาหากินเอง

การที่ข้าราชการไปทำงานส่วนตัวขณะรับราชการ

ไม่ถือเป็นการประพฤติมิชอบ


สำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

ที่มีศักดิ์เป็นเจ้าขุนมูลนาย

สามารถทำมาหากิน

โดยใช้แรงงานของไพร่

ซึ่งมีระยะเวลาตามที่กำหนดไว้

เรียกว่า “การเข้าเดือน”

ในแต่ละสมัยมีระยะเวลาไม่เท่ากัน

เช่น ในสมัยอยุธยาไพร่ต้องมาเข้าเวร 6 เดือน

โดยอาจใช้แรงงาน 6 เดือน และกลับไปทำมาหากิน 6 เดือน


นอกจากนั้น อาจมีรายได้

จากประชาชนผู้มาติดต่อราชการ

เช่น ค่าธรรมเนียมที่ไม่ต้องส่งเข้าหลวง

หรือบางกรณีมีค่าธรรมเนียมเข้าหลวง

แต่หักส่วนหนึ่งเป็นของข้าราชการผู้ปฏิบัติหน้าที่

นอกจากนี้ ยังอาจได้ค่าส่วนลด

จากการจัดเก็บส่วยอากรอีกด้วย


การได้รับผลประโยชน์ดังกล่าว

ถือเป็นการกระทำที่ได้รับอนุญาต

ไม่ถือเป็นความผิด

และได้ปฏิบัติสืบต่อมาเป็นประเพณี

จนเรียกการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งว่า

ให้ไป “กินตำแหน่ง” หรือ “กินเมือง”


แนวคิดดังกล่าวยังคงมีอยู่ต่อมา

ในสมัยธนบุรีจนถึงต้นรัตนโกสินทร์

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

ทรงแก้ไขระบบให้ข้าราชการ

ได้รับเงินเดือนแทนตำแหน่งกินเมือง


อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะยินยอม

ให้ข้าราชการหาผลประโยชน์ได้

แต่ก็จะสามารถกระทำได้ภายใน

ขอบเขตเท่าที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น


หากกระทำการเกินขอบเขตที่ได้รับอนุญาต

ก็จะถือเป็นการ

“ฉ้อราษฎร์บังหลวง”

มีความผิดร้ายแรงเสมอด้วยความผิด

ฐานคิดคดทรยศต่อแผ่นดิน

จะถูกลงโทษอย่างหนักถึงประหารชีวิต

หรืออย่างน้อยก็เฆี่ยน

และถอดบรรดาศักดิ์

และอาจถูกแห่ประจาน

ก่อนการประหารชีวิต

เพื่อมิให้ผู้อื่นเอาเยี่ยงอย่าง


จะเห็นได้ว่า วิธีการป้องกันและปราบปราม

การฉ้อราษฎร์บังหลวง

หรือการต้านโกงในสมัยก่อนนั้นใช้วิธี

“ปราบปราม”

โดยลงโทษข้าราชการ

ที่กระทำความผิดอย่างรุนแรง

และเฉียบขาดเสมอด้วยการกบฏ


เพื่อให้ข้าราชการเกิด ความเกรงกลัว

มิกล้ากระทำความผิด

นอกจากนั้นยังเป็นลักษณะ

“การปราบปราม” หรือ “การป้องกัน”

มิให้ผู้อื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง




ออกแบบภาพและเรียบเรียงเนื้อหาโดย
นายกนต์ธร บัวงาม
เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ
พิพิธภัณฑ์ต้านโกง