ดัชนีการรับรู้การทุจริต Ep.9 : ข้อแนะนำเพื่อความโปร่งใส (CPI Recommendations)


ปกcpi9

ข้อแนะนำเพื่อความโปร่งใส

(CPI Recommendations)


องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) ได้มีข้อแนะนำเพื่อความโปร่งใส กับประเทศต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริต จำนวน 6 ประเด็น

cpi9.png


1. เสริมสร้างความเป็นอิสระของกระบวนการยุติธรรม

ป้องกันการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมการแต่งตั้ง โดยยึดหลักคุณธรรม และสร้างความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม (บุคลากรและทรัพยากรมีความเหมาะสม)

2.สร้างหลักประกันการปฏิบัติหน้าที่ และระบบตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรกระบวนการยุติธรรม

เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษไม่ถูกแทรกแซง เพิ่มช่องทางการร้องเรียนและแจ้งเบาะแส เปิดเผย บัญชีทรัพย์สินและผลประโยชน์อื่นใด ของผู้พิพากษา อัยการ และ เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

3.ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เข้าถึงง่าย และให้องค์กรภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการเปิดโปงการทุจริต

ปรับปรุงและพัฒนาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ง่ายและไม่ซับซ้อน ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ผู้เสียหาย จากการทุจริตให้หมายรวมถึงผู้เสียหายที่ไม่ใช่รัฐ และมอบอํานาจ ให้องค์กรภาคประชาสังคมริเริ่มและเปิดเผยคดีการทุจริต

4.เพิ่มความโปร่งใส และการเปิดเผยข้อมูล ของกระบวนการยุติธรรม

การเปิดเผยข้อมูลทางคดี การยุติข้อพิพาท การบังคับใช้กฎหมาย กระบวนการด้านกฎหมายและกฎระเบียบด้านการบริหาร ที่เปิดเผย และให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมได้

5.ส่งเสริมความร่วมมือภายใต้กระบวนการยุติธรรม ทั้งกระบวนยุติธรรมหลัก และกระบวนการยุติธรรมทางเลือก

บูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานอื่น ๆ รวมทั้งภาคประชาสังคม ทั้งในรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

6.เพิ่มความผิดเกี่ยวกับคดีทุจริตระหว่างประเทศ

ขยายช่องทางการรับผิดในคดีความการทุจริตระหว่างประเทศ มีการบังคับใช้มาตรการสําคัญ เช่น เขตอํานาจศาลเพิ่มเติม การคุ้มครองเบื้องต้นให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างชาติ ให้องค์กรภาคประชาสังคม ดําเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ ติดตามการดําเนินคดีต่าง ๆ และเป็นตัวแทนของผู้ได้รับความเสียหาย


เป็นที่น่าสนใจว่าในประเทศไทยได้มีการดำเนินการตามข้อแนะนำขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) ในหลายประเด็น แต่คะแนนการจัดอันดับไม่ได้ดีขึ้น หรือวิธีการที่เป็นที่ยอมรับสากลจะใช้ไม่ได้กับประเทศไทย หรือประเทศไทยอาจจะต้องแก้ปัญหาการทุจริตด้วยวิถีแบบไทย ๆ ในสมัยอยุธยา ที่มีการลงโทษผู้ที่ทุจริตอย่างเด็ดขาด (ฟันคอ ริบเรือน) เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริต และคิดว่าไม่คุ้มที่จะโกง



#cpi#corruptionperceptionindex#cpi2023

#acm#ACM#VirtualMuseum#AntiCorruptionMuseum

#ต้านโกง#พิพิธภัณฑ์ต้านโกง#ต้านโกงเสมือนจริง


ออกแบบภาพ และเรียบเรียงเนื้อหาโดย
กนต์ธร บัวงาม เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ พิพิธภัณฑ์ต้านโกง


ที่มาข้อมูล
https://images.transparencycdn.org/images/CPI-2023-Report.pdf หน้า 6
https://www.pacc.go.th/2023result.html

Follow the news