เส้นทางต้านโกง ตอนที่ 5 สมัยอยุธยา 3 (พระไอยการอาชาหลวง)


อาชา

เส้นทางต้านโกง ตอนที่ 5

สมัยอยุธยา พระไอยการอาชาหลวง


พระไอยการอาชาหลวง (กฎหมายอาญา)

หรือพระอัยการลักษณะอาญาหลวง


ตราขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระเจ้าอู่ทอง

เมื่อปีพุทธศักราช 1895 มีการบัญญัติเพิ่มเติมอีกหลายคราว

โดยพระมหากษัตริย์พระองค์ต่างๆในภายหลัง


บทบัญญัติในพระไอยการอาชาหลวง ส่วนใหญ่เป็นบทลงโทษข้าราชการที่ทุจริตที่ประพฤติมิชอบต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ นอกจากนี้ยังมีความผิดอื่นๆอีก


นอกจากนั้นยังมีบทบัญญัติให้ราษฎรสามัญร้องเรียน หรือฎีกาฟ้องร้องขุนนาง ข้าราชการได้ ตามความผิดในลักษณะต่าง ๆ ในกรณีที่มิได้รับความเป็นธรรม โดยแต่งตั้งให้ข้าราชการในเมืองหลวงเดินทางไปรับคําร้องทุกข์ และมีบทบัญญัติถึงลักษณะการกระทำผิดของข้าราชการหลายลักษณะ เช่น


> การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่เพราะเห็นแก่สินบน

> ความผิดฐานข่มเหงราษฎร

> ความผิดฐานเบียดบังพระราชทรัพย์ต่อพระมหากษัตริย์

> ความผิดฐานเบียดบังส่วยอากร


พระไอยการอาชาหลวงยกเลิกไปในปี พ.ศ 2451 เมื่อใช้กฎหมายลักษณะอาญาหลวง ร.ศ. 127 รวมเวลาที่ใช้พระไอยการอาชาหลวง ถึง 556 ปี


พระไอยการอาชาหลวง ถือเป็นกฎหมายฉบับแรกที่กำหนดความผิดและบทลงโทษข้าราชการที่ทุจริต ประพฤติมิชอบต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ




ออกแบบภาพและเรียบเรียงเนื้อหาโดย
นายกนต์ธร บัวงาม
เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ
พิพิธภัณฑ์ต้านโกง