ฮั้วประมูล : กลโกงที่ทำให้รัฐต้องจ่ายเงินมากเกินความเป็นจริง
25 เม.ย. 2567

กลโกงฮั้วประมูล
การทำยังไงก็ได้ให้คู่แข่งยอมหลีกทางในการประมูลแข่งขัน การยื่นซองเสนอราคา รวมถึงขัดขวางการเสนอประโยชน์สูงสุด ให้แก่หน่วยงานของรัฐจนทำให้ประเทศชาติเสียหาย
"ฮั้วประมูล เกิดขึ้นกับการจัดซื้อจัดจ้างเท่านั้น"

การฮั้วประมูลทำไปเพื่อ
- กำหนดราคาเอาเปรียบหน่วยงานของรัฐในการจัดซื้อจัดจ้างในราคาที่สูง
- หลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม
- เอื้อประโยชน์แก่ผู้เสนอราคารายหนึ่งหรือหลายรายให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา
- เพื่อผลประโยชน์ระหว่างกันของผู้เสนอราคา

รูปแบบของกลโกงฮั้วประมูล
การฮั้วประมูลจะเกิดขึ้นในกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นิยามได้ 3 คำสำคัญ
การกีดกัน
คือ การขัดขวาง ข่มขู่ หรือวิธีการอื่นที่จะทำให้คู่แข่งไม่เข้ามาแข่งขันราคาการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
การสมยอม
คือ การสมยอมกัน การตกลงกัน ในการเสนอราคาการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อประโยชน์ของผู้เสนอราคาทั้งหลาย
การเอื้อประโยชน์
คือ การกำหนดคุณสมบัติ หรือกำหนดรายละเอียดของการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อประโยชน์แก่ผู้เสนอราคารายใดรายหนึ่งหรือหลายราย
"ฮั้วประมูล ทำให้รัฐต้องจ่ายเงินมากเกินความเป็นจริง"
#acm #ACM #VirtualMuseum #AntiCorruptionMuseum #ต้านโกง #พิพิธภัณฑ์ต้านโกง #ต้านโกงเสมือนจริง #กลโกง #ฮั้ว #ฮั้วประมูล #กลโกงฮั้วประมูล